วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติและความเป็นมา




ฉัตรล้านนา



ความหมายของฉัตร


   เป็นเครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายร่ม เป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีฐานกว้างและมีขนาดลดหลั่นลงไป ใช้แขวน ปัก ตั้ง



 ความเป็นมาของฉัตร

     พัฒนามาจากร่มที่ใช้กางป้องกันแดด กันฝน อย่างธรรมดาทั่วไป ต่อมาเมื่อสังคมมีการแบ่งเป็นชนชั้นวรรณะขึ้น รูปแบบของฉัตรก็เริ่มพํฒนาตกต่างกันออกไปส่วนหนึ่งก็กลายเป็นของสูง
       ฉัตรเป็น เครื่องราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ในระดับต่างๆกัน ตลอดจนพระสงฆ์รวมถึงศาสนาต่างๆ ที่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นของสูง เช่น เจดีย์ หรือ พระบรมธาตุก็จะมีฉัตรเพื่อเพิ่มความสง่างาม
      ฉัตรเป็นปริศนาธรรมทางพุทธศาสนา อันหมายถึงเครื่องบูชาเทียบระดับแห่งการบรรลุธรรมแห่งองค์พระศาสดา  คติทางพุทธศาสนาถือว่าพระพุทธเจ้ามีศักดิ์สูงกว่า รพมหากษัตริย์อยู่แล้ว การแบ่งชั้นโดยการใช้ฉัตรมีหลายอย่าง เช่น 3 5 7 9 ชั้น
                 ฉัตร 3 ชั้น หมายถึง พระรัตนตรัย
                 ฉัตร 5 ชั้น หมายถึง พระพุทธเจ้าในภัทรกัปทั้ง 5 พระองค์
                 ฉัตร 7 ชั้น หมายถึง การบูชาโภชงค์เจ็ด
                 ฉัตร 9 ชั้น หมายถึง การบูชาพระนวโลกุตธรรมเจ้า 9 ประการ  



 



















ชนิดของฉัตร


ฉัตรล้านนามี 10 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ


•ฉัตรตั้งในพิธีกรรม

ฉัตรรวงข้าว ฉัตรดอกไม้ ฉัตรอันสานด้วยไม้ตอก ฉัตรขาว 7 ชั้น ฉัตรผ้าเหลือง
ฉัตรขาวผ้าไหมแดง ฉัตรแดง ฉัตรมณฑปใบไม้


•ฉัตรปักในศาสนสถาน

ฉัตรดอกคำ คือ ฉัตรที่ทำด้วยแผ่นทองเหลืองตัดแต่งลวดลายเป็นรูปดอกไม้ลายไทย ลงกนกต่างๆแล้วปิดด้วยทองคำเปลว














ส่วนประกอบของฉัตร


-คันฉัตร หรือ แกนฉัตร

-เด็ง หรือ กระดิ่ง ใช้ห้อยประดับส่วนล่างของฉัตร เพื่อให้เกิดเสียงดังกังวานเวลาลมพัด เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี


-ใบโพธิ์ ใช้ห้อยประดับคู่กับกระดิ่ง


-ดอกคอ ลวดลายดอกไม้ที่อยู่ระหว่างกึ่งกลางชั้นฉัตรแต่ละชั้น

-กระจับตาอ้อย(กระจับบน) ลวดลายบัวหงายประดับส่วนบนกระดูกงู

-กาบสา แผ่นทองเหลืองตัดลวดลายแบบต่างๆเป็นเชิงฉัตร

-เครือยอด (นาค,ช่อ) อยู่ถัดขึ้นไปจากฉัตรชั้นสุดท้ายลักษณะคล้ายเปลวเพลิง

-ยอดปลี ส่วนบนสุดของฉัตรคล้ายปลีกล้วย ปลายแหลม เป็นส่วนปิดรูของข่องฉัตร

-ธง อยู่ถัดขึ้นไปจากเครือยอดมีลักษณะคล้ายธงสามเหลี่ยม

ลวดลายของฉัตร

     
      เอกลักษณ์ของฉัตรล้านนาอบู่ที่ลวดลายที่มีลักษณะที่หยาบและใหญ่กว่าของภาคกลาง มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น ลายดอกจันทน์ ลายกาบสา ลายเครือเถา ลายก้ามปู  ลายขูด ลายสร้อย ลายสับปะรด เป็นต้น
      ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นลายเรียบๆส่วนของกาบเป็นลายกาบแบบบัวกลีบปลายเสา










อุปกรณ์การทำฉัตร

อุปกรณ์ในการทำฉัตรล้านนา



1.เเผ่นทอง



2.ค้อน

3.มีด



4.เหล็กตอก

5.ทองคำเปลว


6.ตะปูตอกลาย


7.สเป สี

ขั้นตอนในการทำฉัตรล้านนา

ขั้นตอนการทำฉัตรล้านนา


 



1. การตีโครงฉัตร

2.วาดลายบนแผ่นทอง

3. การแกะลายในแผ่นทอง

4.นำลายที่แกะแล้วมาติดบนแผ่นทองแผ่นใหญ่

5.การประกอบโครงฉัตร

6.ทาสีและปิดทอง